เครื่องมือตั้งชื่อบริษัท

ใส่คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณด้านล่าง แล้วเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจะคิดค้นชื่อธุรกิจและโดเมนให้กับคุณ


ประเภทของการประกอบธุรกิจ

การประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะดำเนินงานโดยเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว หรือดำเนินงานในลักษณะของหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือจัดทำในรูปแบบมหาชนที่ให้ประชาชนคนทั่วไปมีสิทธิ์เป็นผู้ถือหุ้นร่วมได้ หากคุณมีความประสงค์ที่จะก่อตั้งบริษัทในเบื้องต้น ก็ต้องลองศึกษาประเภทธุรกิจในเบื้องต้นก่อน เพื่อดูว่าการดำเนินธุรกิจแบบไหนที่ตรงตามจุดประสงค์ในการดำเนินธุรกิจของคุณมากที่สุด 

การประกอบธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่

1. ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เสียภาษีในอัตราก้าวหน้า)

  • กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว

กิจการที่มีเจ้าของลงทุนและดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว ตัวอย่างเช่น นายหน้า ร้านขายของ รวมทั้งการขายออนไลน์ และการให้บริการต่าง ๆ ซึ่งการค้าเร่ การค้าแผงลอย ไม่ต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับข้อ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

การก่อตั้งกิจการร่วมกันสำหรับบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดร่วมกัน

2. เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมาย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล)

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ซึ่ง จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยต้องรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด

  • บริษัทจำกัด

การก่อตั้งกิจการร่วมกันสำหรับบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าเท่า ๆ กันในหนึ่งหุ้น ซึ่งผู้ลงทุนได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งรับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

  • บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยมีความรับผิดแบบจำกัดไม่เกินจำนวนของเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ

  • องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

ได้แก่ สมาคมการค้า และหอการค้า   

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญแบบจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

ข้อดีของการจดทะเบียนนิติบุคคล

  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ
  • จ่ายภาษีจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจริง
  • จ่ายภาษีน้อยกว่าแบบบุคคลธรรมดา เนื่องจากจ่ายในอัตราภาษี 20% แทนที่จะเป็นแบบอัตราก้าวหน้าที่สูงสุดถึง 35%
  • มีการบริหารทางการเงินที่ชัดเจนและโปร่งใส
  • มีโอกาสที่จะเติบโตทางธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากมีเครดิตที่ดีกับธนาคารในการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนขยายกิจการในอนาคตได้

การเสียภาษีของนิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการร่วมค้า และมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เป็นต้น ส่วนผู้ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศ ที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ ได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และกิจการร่วมค้า โดยการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีจะต้องใช้เกณฑ์สิทธิ คือ การคำนวณรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น พร้อมรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้น 

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี และการยื่นภาษีจะต้องยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ผู้ที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี โดยให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน ส่วนผู้ประกอบการที่มีแผนงานดำเนินการที่ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ โดยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถดำเนินการแบบออนไลน์ได้ที่ www.rd.go.th โดยผู้ประกอบต้องยื่นคำขอแจ้งใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01.1 และคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01


ตั้งชื่อบริษัทของคุณง่าย ๆ ด้วยเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator

หากคุณต้องการที่จะตั้งบริษัทเป็นของตัวเอง เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator ช่วยคิดค้น ง่าย ๆ เพียงแค่ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. รวบรวมคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

ขั้นตอนแรกของการคิดชื่อบริษัทก็คือ การคิดถึงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ที่สามารถสื่อถึงสิ่งที่ธุรกิจของคุณดำเนินการได้ พร้อมทั้งหาคำพ้องความหมาย หรือคำศัพท์ที่อธิบายถึงธุรกิจของคุณเพิ่มเติมได้ด้วย เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานคำสำหรับชื่อบริษัทของคุณ การตั้งชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะทำให้ชื่อสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

2. ใส่คีย์เวิร์ดลงไปในเครื่องมือตั้งชื่อบริษัท

นำคีย์เวิร์ดที่คุณลิสต์เป็นรายการออกมา มาใส่ในเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทจาก Business Name Generator เพื่อให้ระบบช่วยคิดค้นชื่อบริษัทที่น่าสนใจออกมาให้โดยอัตโนมัติหลายร้อยรายการ

3. เลือกชื่อที่ใช่ พร้อมจดโดเมนบริษัทสำหรับพัฒนาเว็บไซต์

หลังจากที่คุณได้รายการชื่อบริษัทจากเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทมาจำนวนหนึ่งแล้ว ก็ลองตรวจสอบทีละรายการว่า มีคนนำชื่อเหล่านั้นไปตั้งเป็นชื่อโดเมนเว็บไซต์แล้วหรือยัง เพราะถ้ามีแล้ว นั่นหมายความว่าชื่อเหล่านั้นอาจถูกนำไปตั้งเป็นชื่อธุรกิจหรือชื่อบริษัทแล้วได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถตรวจสอบชื่อบริษัทที่จดทะเบียนเรียบร้อยได้ที่เว็บไซต์ทางการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า datawarehouse.dbd.go.th ซึ่งคนต้องลงทะเบียนเพื่อเป็นสมาชิกก่อนเข้าใช้บริการ

และนี่ก็คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจและการจัดตั้งบริษัทที่คุณควรรู้ ตั้งแต่ประเภทของธุรกิจและความแตกต่างของแต่ละประเภท การเสียภาษีของนิติบุคคล และการตั้งชื่อบริษัทง่าย ๆ ด้วย Business Name Generator แพลตฟอร์มที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้การคิดค้นชื่อธุรกิจและบริษัทนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น นอกจากนั้น คุณยังสามารถตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องเลยว่า ชื่อนั้นมีการนำไปจดทะเบียนชื่อโดเมนแล้วหรือยัง

ถ้ายังก็สามารถจดทะเบียนโดเมนนั้นเพื่อเป็นเจ้าของได้ในทันที แต่ถ้าพบว่าชื่อนั้นมีการนำไปจดทะเบียนโดเมนแล้ว ก็ต้องตรวจสอบเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า มีการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือยัง หรือเป็นเพียงการซื้อโดเมนเพื่อขายต่อในลักษณะของสินทรัพย์เท่านั้น ซึ่งถ้าคุณสนใจในชื่อนั้นจริง ๆ ก็สามารถติดต่อเจ้าของเพื่อซื้อต่อได้ แต่ถ้าชื่อนั้นมีการนำไปใช้อย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว ก็ต้องค้นหาชื่อเพิ่มเติมกับเครื่องมือตั้งชื่อบริษัท เพื่อให้ได้ชื่อที่แตกต่างจากคนอื่น ทั้งยังเหมาะสำหรับเป็นชื่อบริษัทของคุณจริง ๆ

อ้างอิง:

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

- คุณสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ที่สำนักงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสาขาต่าง ๆ โดยที่สามารถจองคิวออนไลน์ได้ที่นี่ th.qbe.ee/DBD - จดทะเบียนบริษัทแบบออนไลน์ ereg.dbd.go.th โดยผู้ประกอบการต้องทำการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนในเบื้องต้นก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมชำระค่าธรรมเนียมได้ นายทะเบียนทำการรับจดทะเบียน พร้อมรับเอกสารการจดทะเบียนทั้งหมด

1. ชื่อบริษัทที่ต้องการจดทะเบียน โดยสามารถจองชื่อนิติบุคคลได้ที่: reserve.dbd.go.th หากคุณยังไม่มีชื่อธุรกิจที่ต้องการ สามารถใช้เครื่องมือตั้งชื่อบริษัทของเราเป็นตัวช่วยได้ 2. ข้อมูลที่อยู่ของตำแหน่งที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ (ถ้ามี) พร้อมข้อมูลสำหรับการติดต่อ และเว็บไซต์สำหรับโปรโมทธุรกิจ ซึ่งคุณสามารถจดชื่อโดเมนสำหรับพัฒนาเว็บไซต์ได้ในทันทีผ่านเครื่องมือตั้งชื่อบริษัทของเรา 3. วัตถุที่ประสงค์ของการก่อตั้งบริษัท ดูข้อมูลประกอบ 4. จำนวนทุนจดทะเบียน ซึ่งต้องแบ่งเป็นหุ้นมูลค่าหุ้นเท่า ๆ กัน (ไม่ต่ำกว่า 5 บาท) 5. ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ อย่างชื่อ ที่อยู่ อายุ หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บัตรประชาชน อาชีพ ของผู้ประกอบการ ผู้ถือหุ้น พยานจำนวน 2 ท่าน และกรรมการ และจำนวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการจองซื้อไว้ 6. จำนวนทุนที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น 7. รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท ดูข้อมูลประกอบ 8. ชื่อและเลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อมทั้งข้อมูลค่าจ้าง

1. คำขอจดทะเบียนบริษัท หรือแบบบอจ.1 2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัท 3. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง หรือแบบบอจ.3 4. ข้อมูลกรรมการ (แบบ ก.) 5. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) 6. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท 7. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท 8. หลักฐานการชำระค่าหุ้นสำหรับผู้ถือหุ้น 9. แบบ สสช.1 1 ฉบับ 10. แผนที่สำนักงาน 11. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการทุกคน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ www.dbd.go.th/download

หากคุณตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์ของกรมธุรกิจการค้า หรือจองชื่อนิติบุคคลแล้วพบว่า ชื่อที่คุณต้องการมีคนใช้ไปแล้ว อาจจะลองเพิ่มหรือลดคำเพื่อไม่ให้ซ้ำ ใช้ตัวย่อแทนตัวเต็ม หรือใช้เป็นคำพ้องความหมายแทน หรือสามารถคิดค้นชื่อบริษัทใหม่โดยใช้เครื่องมือตั้งชื่อบริษัทของเราเป็นตัวช่วยได้ เพราะชื่อที่แตกต่างจะไม่ทำให้ลูกค้าเป้าหมายของคุณสับสน และเป็นที่จดจำได้ดีกว่า
We use cookies to offer you our service. By using this site, you agree to our: ดูนโยบายคุกกี้